วิธีการเพาะเมล็ดอินทผาลัม สูตรให้งอกสมํ่าเสมอ 2023

Spread the love

วิธีการเพาะเมล็ดอินทผาลัม สูตรให้งอกสมํ่าเสมอ 2023

วิธีการเพาะเมล็ดอินทผาลัม สูตรให้งอกสมํ่าเสมอ

วิธีการเพาะอินทผาลัม เพาะเมล็ดอินทผาลัมให้เป็นตัวเมีย หรือ วิธีปลูกอินทผาลัมในกระถาง โดยใช้เมล็ดเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการขยายพันธุ์อินทผาลัมจำนวนมากๆ แต่เนื่องจากอินทผลัมเป็นพืชที่่ไม่สมบูรณ์เพศ การขยายพันธุ์โดยเมล็ด โอกาสที่จะได้เป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมียมีอย่างละครึ่ง และเราจะไม่สามารถทราบเพศของต้นอินทผาลัมจากการเพาะเมล็ด จึงต้องปลูกไว้และรอจนกว่าอินทผาลัมจะออกดอกก่อนจึงจะทราบเพศ และถึงแม้ว่าเราจะได้ต้นตัวเมียไปปลูก เมล็ดอินทผาลัมตัวเมีย แต่คุณภาพผลอินทผาลัมก็จะไม่เหมือนกับต้นแม่ เนื่องจากผลอินทผลัมเป็นผลที่ได้จากการผสมเกสรข้ามต้น จึงถือว่าเมล็ดที่ได้เป็นพันธุ์ลูกผสมไม่ใช่พันธุ์แท้ ซึ่งไม่สามารถเรียกชื่อเดียวกับต้นแม่ได้ เราจึงสามารถตั้งชื่อพันธุ์อินทผาลัมที่เพาะจากเมล็ดได้เอง  ทั้งในเรื่องของขนาดหรือรสชาดอาจจะแย่ลง หรือใกล้เคียงต้นแม่พันธุ์เดิม หรือดีขึ้นก็ได้ แต่มีเพียงส่วนน้อยมากที่คุณภาพจะดีขึ้น

ผลอินทผาลัมที่ซื้อมาจากตลาดทั่วไปหรือซุปเปอร์มาเก็ตทั้งแบบกินผลสดและผลแห้ง เมล็ดที่ได้หลังจากการบริโภคแล้ว สามารถนำไปเพาะเป็นต้นกล้าเพื่อเพาะปลูกได้ ในกรณีที่เป็นผลแบบกินแห้งซึ่งจะมีลักษณะเยิ้มคล้ายเชื่อมมา แต่ข้อเท็จจริงเป็นลักษณะของผลอินทผาลัมเมื่อตากแห้งแล้ว ไม่ใช่การเชื่อมผลมา ซึ่งเมล็ดสามารถนำมาเพาะได้เช่นกัน สำหรับการเพาะเมล็ดอินทผาลัม

ต้นอินทผาลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อๆ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย

ผลของอินทผาลัม จะมีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และพัฒนาการของผลอินทผาลัมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ ระยะสมบูรณ์ ระยะสุกแก่ ระยะผลแห้ง โดยผลอินทผาลัมดิบจะให้เนื้อสัมผัสหวานฉ่ำ กรอบอร่อยมีเอกลักษณ์เฉพาะ และผลอินทผาลัมสุกเราสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้รับประทานได้หลายปี และจะมีรสชาติหวานจัด เหมือนกับการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาลเลยก็ว่าได้ แสนอร่อยมากเลย

สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดอินทผาลัม มีขั้นตอนดังนี้

วิธีปลูกต้นกล้าอินทผาลัม เมล็ดอินทผาลัมตัวเมีย ดูยังไง อินทผลัมเพาะเมล็ดกี่ปีออกผล มาดูขั้นตอน

1. ทําการนำเมล็ดอินทผาลัมมาล้างทำความสะอาด ต้องล้างให้เยื่อที่หุ้มเมล็ดอินทผาลัมออกให้หมด ในกรณีที่เป็นผลแบบกินแห้งจะมีน้ำตาลเกาะอยู่ที่เมล็ดมาก การล้างทำความสะอาดอาจจะทำได้ยากกว่าเมล็ดแบบกินสด อาจจะผสมน้ำยาล้างจานลงไปเพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งการล้างจะต้องทำการล้างหลายๆรอบ ให้สะอาดจริงๆเพราะถ้าเราล้างไม่สะอาดจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นที่เมล็ดที่เรานำมาเพาะได้สําคัญมาก

2. ทําการนำเมล็ดอินทผาลัมที่ทำความสะอาดแล้วจากข้อที่ 1 มาแช่น้ำทิ้งไว้ 2- 3 วัน โดยทำการเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยทุกๆ 12 ชั่วโมง คอยสังเกตุดูว่ามีมดมาเกาะบริเวณขอบน้ำที่เราแช่เมล็ดอินทผาลัมไว้หรือไม่ หากมีแสดงว่าเราอาจจะทำความสะอาดเมล็ดไม่ดีพอ ให้เริ่มทำตามข้อที่ 1 ใหม่ จนกว่าจะสะอาด ไม่ให้เกิดเชื้อราขึ้นเด็ดขาด

3. ให้นํากล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้อย่างสนิทมาล้างทำความสะอาด นำกระดาษทิชชูมารองก้นกล่องพลาสติกไว้ ให้หนาประมาณ 3 ชั้น พรมน้ำใช้ชุ่มทั่วทั้งแผ่นกระดาษทิชชูแต่อย่าให้แฉะ ถ้ากระดาษทิชชูแฉะเกินไปให้เทน้ำออกทันที

4. ทําการนำเมล็ดอินทผาลัมจากข้อที่ 2 มาจัดเรียงในกล่องพลาสติก แล้วปิดฝาให้สนิท ในช่วงการงอกของเมล็ดอินทผาลัมต้องการความชื้นที่สม่ำเสมอ แต่ไม่ได้ต้องการอากาศ จึงจำเป็นต้องปิดฝาให้สนิท

5. ทําการนำกล่องที่จัดเรียงเมล็ดอินทผาลัมและปิดฝาสนิทแล้ว ไปไว้ในบริเวณที่อากาศร้อนอบอ้าว (แต่ไม่ให้โดนแดดก่อน) ให้เก็บไว้ที่ เช่น ห้องครัว หรือห้องเก็บของ หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน รากสีขาวจะเริ่มงอกออกมาจากบริเวณสะดือของเมล็ดแล้ว

6. เมื่อเมล็ดอินทผาลัม เริ่มรากงอกออกมายาวประมาณ 1 นิ้วให้นำออกมาเพาะในถุงดำขนาดอย่างน้อย 4×6 นิ้ว ทั้งนี้เมล็ดอาจจะงอกไม่พร้อมกันให้ทยอยนำออกมาเพาะ

7. เมื่อเมล็ดอินทผาลัมถูกนำมาเพาะในถุงดำประมาณ 15 – 20 วันก็จะเริ่มออกแทงหน่อเล็กๆออกมา ให้เลี้ยงไว้จนออกใบเลี้ยงประมาณ 3 ใบ จึงนำไปเปลี่ยนถุงขนาดใหญ่ขึ้น

8.สำหรับต้นกล้าอินทผาลัมที่เพาะจากเมล็ดควรจะเพาะเลี้ยงไว้ในถุงดำจนกว่าจะออกใบขนนก ประมาณ 3-4 ใบขึ้นไป หรือต้นกล้ามีอายุประมาณ 1 ปี เพื่อให้มีโอกาสรอดเกือบ 100% เมื่อปลูกลงแปลงปลูก

การขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

การขยายพันธุ์จากการแยกหน่อปลูก เป็นการขยายพันธุ์ที่นิยมใช้กันมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน ทั้งการขยายแปลงปลูก การค้าต้นพันธุ์ อินทผาลัมเมื่อต้นอายุ 2 ปีขึ้นไปจะเริ่มสร้างหน่อ แขนงขึ้นมา รอบๆต้น มี 2 ประเภท คือหน่อดิน และ หน่ออากาศ ทั้งสองประเภทสามารถแยกขยายไปปลูกต่อได้ คล้ายๆแยกหน่อกล้วย

ข้อดี

  • หน่อที่แยกออกมาจะมีพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ทุกประการ ทั้งทางกายภาพ และ พันธุกรรม (เหมือนต้นแม่ทุกประการ )
  • รู้เพศชัดเจน หน่อที่แยกมาจากต้นแม่ที่เป็นเพศอะไร หน่อก็จะเป็นเพศนั้น
  • ผลผลิตที่ได้จะเหมือนกันทุกต้น ชื้อพันธุ์สามารถใช้ชื่อเดียวกันได้ ควบคุมคุณภาพได้ง่าย
  • ให้ผลผลิตได้เร็ว เพราะหน่อที่แยกมาเป็นต้นที่โต พอสมควร เมื่อฟื้นตัวสมบูรณ์ จะสามารถให้ผลผลิตได้เลย

ข้อเสีย

  • ราคาหน่อจะสูง ต้นทุนในการปลูกจะสูงตามไปด้วย เพราะหน่อที่ออกมามีจำนวนจำกัด ไม่พอเพียงกับความต้องการ
  • ต้องดูแลเอาใจใส่ในระยะแยกที่เพิ่งแยกหน่อมาปลูก เพราะจะเกิดเป็นเชื้อรา รากเน่าโคนเน่าได้ง่าย

การขยายพันธุ์ด้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้หน่อจากต้นแม่พันธ์ พันธุ์แท้(พันธุ์ที่เป็นที่ยอมรับเป็นสากล) มาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นต้นกล้าคุณภาพขึ้นมาที่เป็นทางเลือกที่แก้ปัญหาจาก การเพาะเม็ด และ การแยกหน่อ เหมาะกับการขยายพันธุ์ เชิงคุณภาพได้อย่างดียิ่ง

ข้อดี

  • ได้ต้นที่เกิดขึ้น พันธุกรรมจะเหมือนต้นแม่พันธุ์ทุกประการ (เหมือนการแยกหน่อ)
  • รู้เพศชัดเจน เป็นต้นเพศเมีย 100% ไม่มีการกลายพันธุ์
  • สายพันธุ์ที่ได้เป็นสายพันธุ์มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอยู่แล้ว
  • ผลผลิตที่ได้จะเหมือนกันทุกต้น ชื้อพันธุ์สามารถใช้ชื่อเดียวกันได้ ควบคุมคุณภาพได้ง่าย

ข้อเสีย

  • ราคายังคงสูงอยู่ในปัจจุบัน สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้วโดยโครงงานของนิสิตปริญญาเอกที่คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นแห่งแรกในประเทศไทย แต่ยังมีจำนวนไม่มาก และต้นกล้ายังไม่สูง จึงไม่สามารถทำในเชิงพาณิชย์ได้

ประโยชน์ของอินทผาลัม

1.ด้านคุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของอินทผาลัม เช่น แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไตล์ ทั้งยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยลดอาการท้องผูก  บำรุงร่างกายที่อ่อนล้าให้กลับมีกำลัง นอกจากนี้ยังสามารถบำรุงกล้ามเนื้อมดลูกและสร้างน้ำนมแม่ด้วย

2.ด้านการรักษาโรค อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความหิว แก้กระหาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ ช่วยลดเสมหะในลำคอ ทำให้กระดูกแข็งแรง นอกจากนี้ยังฆ่าเชื้อโรค พยาธิและสารพิษที่ตกอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้อง